เขียนโดย : กัญยานี จันทร์ทอง
มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ
และใช้หลักอิสลามในการดำเนินชีวิตและพัฒนาประเทศจนก้าวเข้าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
อาจเป็นเพราะมาจากตัวผู้นำของมาเลเซียที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของศาสนา
ซึ่งผู้นำมาเลเซียนั้นไม่ว่าจะอยู่ในรัฐบาลสมัยไหนก็สนับสนุนและให้ความสำคัญกับเรื่องศาสนา
แม้ว่ารัฐบาลแต่ละสมัยนั้นอาจจะเน้นนโยบายบางเรื่องไม่เท่ากัน แต่ที่เน้นมากที่สุดทุกสมัยคือศาสนา
ทั้งนี้เป็นเพราะประเทศมาเลเซียส่วนใหญ่มีประชากรเป็นมุสลิม รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับศาสนาอิสลาม
เพื่อเรียกคะแนนเสียงจากประชาชน
การที่ประเทศมาเลเซียมีการนับถือศาสนาอิสลามมากกว่าร้อยละ
60และในชุมชนมุสลิมของมาเลเซียกำลังเผชิญหน้ากับกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน
โลกาภิวัฒน์ หมายถึง การแผ่ถึงกันการเข้าถึงโลกหรือการเอาชนะ โลกาภิวัฒน์จึงเป็นกระแสของการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน
ซึ่งได้มีอิทธิพลเข้าครอบงำต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศต่างๆ
ในโลกที่จะต้องปฏิบัติตาม
ประเทศมาเลเซียมีรองนายกรัฐมนตรีคือ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นโยบายด้านการเมืองและการปกครองของรัฐบาลมาเลเซีย
ได้เน้นนโยบาย อิสลามฮะฎอรี ในการบริหารจัดการพัฒนาสังคมมุสลิม อิสลามฮะฎอรี เป็นคำเดิมจากภาษาอาหรับสองคำคืออิสลาม (Islam)
กับคำว่า ฮะฎอรี ซึ่งแปลว่าอารยธรรม ซึ่งจะตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษคือ
Civilizational
Islam แต่ในที่นี้หมายถึงการพัฒนาสังคมมุสลิมสู่ความเป็นอารยธรรมที่สอดคล้องกับหลักการศาสนาอิสลามความเป็นจริงแล้ว
นโยบายนี้เป็นกระแสทางปัญญาของรัฐบาลมาเลเซีย
นโยบายนี้ถูกจำแนกว่าเป็นกระบวนการองค์รวมของการกล่อมเกลาทางศาสนา ที่จะนำมาซึ่งสังคมใหม่ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง
เศรษฐกิจและสังคมนโยบายนี้จะทำให้มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิม
มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติสามารถใช้หลักการศาสนาบูรณาการกับวิทยาการสมัยในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์
และการปะทะของสองรูปแบบทำให้เกิดวัฒนธรรมได้อย่างกลมกลืน จนทำให้โลกทั้งตะวันตกและโลกตะวันออกมองว่า
มาเลเซียเป็นประเทศมุสลิมสายกลางที่สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ทิ้งรากเหง้าของความเป็นมุสลิมซึ่งถูกมองว่าจะค่อนข้างอนุรักษ์นิยม
แต่อย่าไรก็ได้มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับความเห็นที่ไม่ลงลอยกัน คือกลุ่มที่มีแนวคิดเปิดกว้างต่อกระแสโลกาภิวัฒน์
มุสลิมกลุ่มนี้ จะไม่หลีกหนีจากกระแสการเผชิญหน้าทุกรูปแบบ
และกล้าที่จะสนทนาแลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์
และแนวคิดอย่างสันติกับทุกกลุ่มของลัทธิโลกาภิวัฒน์
ในขณะเดียวกันก็ไม่ละทิ้งแบบปฏิบัติของอิสลาม อิสลามฮะฎอรีจึงเป็นผลโดยตรงมาจากการสังเคราะห์แนวทางการพัฒนา
เพื่อให้สอดประสานกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในสังคมสมัยใหม่ของมาเลเซีย
ซึ่งมีต้นแบบการพัฒนามาจากแนวทางการพัฒนาตามรูปแบบตะวันตก ที่เน้นแนวทางการพัฒนาเชิงประจักษ์เชิงวิทยาศาสตร์
หรือการเน้นแนวทางการพัฒนาแบบโลกียนิยม
ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการการทำให้เป็นแบบวิถีโลก ที่ต้องการลดความสำคัญและอิทธิพลของศาสนาแบบสุดโต่งออกไปจากชีวิตความเป็นจริง
โลกาภิวัตน์
มีทั้งผลดีและผลเสียแตกต่างกันไปหากรัฐบาลต้องการใช้หรือต้องการเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย
ต้องมีการควบคุมและวางแผนที่ดีไม่อย่างนั้นอาจจะมีปัญหาตามมา
และทำให้ประเทศของตนแตกแยกได้
Website :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น