เขียนโดย : กัญยานี จันทร์ทอง
มาเลเซียภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษโดยสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ.
1957 มาเลเซียได้กลายเป็นรัฐที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
แต่ก็มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองของมาเลเซียให้เป็นไปตามระบอบของอิสลาม
ความพยายามนี้เริ่มเด่นชัดในช่วงทศวรรษ 1970 หรือชื่อเรียกปรากฏการณ์ในครั้งนั้นว่า
การเคลื่อนไหวในการเชิญชวน (หรือว่าปรากฏการณ์ดะวะฮ) เป็นช่วงเวลาที่การทำงานของการเผยแพร่อิสลามมีการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากขึ้น
จากปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวคือ เกิดจากเหตุการณ์วิกฤติน้ำมัน
จากการที่ชาติอาหรับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกมีการตัดสินว่าลดการส่งออกของน้ำมัน
ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีมูลค่าที่สูงขึ้นและได้สร้างความมั่งคั่งให้ผู้ส่งออกน้ำมัน
ผลตามมาหลังจากนั้นคือ การให้การสนับสนุนจากชาติอาหรับเกี่ยวกับกิจการทางศาสนา
และการสนับสนุนให้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อในประเทศตะวันออกกลาง
จุดนั้นทำให้ส่งผลเกิดจำนวนผู้รู้ในทางด้านศาสนาจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าว
เกิดกระบวนการศึกษาเรียนรู้
และทำให้อุดมการณ์ของอิสลามเริ่มที่จะเบ่งบานมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว การเคลื่อนไหวในกลุ่มของมุสลิมในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นไม่เพียงแต่ว่ามีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว
ยังคงมีความพยายามที่จะพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ
รวมถึงความพยายามที่จะนำอิสลามเป็นรูปแบบในการใช้ชีวิตของคนมุสลิมในมาเลเซีย
กลุ่มสำคัญ
หรือขบวนการสำคัญที่ออกมาเคลื่อนไหวในช่วงเวลานั้นมีทั้งกลุ่มพรรคการเมืองที่เอาเรื่องนี้อยู่ในนโยบายจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของประเทศมาเลเซียให้มีการใช้กฎหมายชารีอะฮ
เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการปกครองประเทศคือ พรรค PAS องค์กรที่เน้นการพัฒนาและการทำธุรกรรมทางการเงินตามหลักการอิสลามเช่น
ดารุล อัรกอม หรือขบวนการเยาวชน ที่ใช้ ชื่อว่า ABIM นักกิจกรรมรุ่นใหม่ที่ตื่นตัวทางด้านการเมือง
และออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มาเลเซียกลับสู่หลักการของอิสลาม
นอกจากนั้นยังคงมีการเคลื่อนไหวของ ญามาอะฮ ตับลีฆ
ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับและสามารถขยายตัวได้บริเวณชนบทของประเทศ
จากคำอธิบายของ Shamsul ได้กล่าวว่า
จากการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ดะวะฮ์มีผลมาจาก 6 ประการด้วยกันคือ
1. เพื่อรับมือกับแรงกดดันของกระบวนการทันสมัย
2. เพื่อแสงดออกถึงความรู้สึกที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมหรือลัทธิครองความเป็นเจ้าของตะวันตก
3. เพื่อส่งเสริมารฟื้นฟูทางจิตวิญญาณ
4. เพื่อต่อกรกับกระบวนการสร้างเหตุผลทางสังคมของโลกสมัยใหม่ที่ท้าทายต่อโลกทัศน์ทางศาสนาและปรัชญาแบบเดิม
5. เพื่อแสวงหาหนทางที่จะอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการตั้งคำถามหรือความไม่เชื่ออย่างถอนรากถอนโคน
ไม่ว่าจะเป็นต่อสถาบัน ค่านิยม และศีลธรรมที่ดำรงอยู่ในสังคม
6. เพื่อสร้างจารีตอันใหม่
ซึ่งจะเป็นโอกาสให้สามารถนิยามหรือผลักดันหาอัตลักษณ์ใหม่ทางชาติพันธุ์
ศาสนาในสังคมที่มีความหลายหลายได้
ปรากฎการณ์นี้ได้เป็นสิ่งที่กระตุ้นและเผยแพร่ศาสนาอิสลามได้อย่างดี
มีแรงกดดัน 6 ประการที่ทำให้ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้น
และได้มีการเริ่มใช้กฎหมายชารีอะฮเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการปกครอประเทศ
และมีนักสังคมมากมายออกมาเพื่อเรียกร้องให้มาเลเซียใช้หลักการอิสลาม
Website :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น