วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความเคลื่อนไหวขององค์กรศาสนากับการร้องเรียนความบันเทิง


เขียนโดย : นิตยา บารอสิดิก

        
           มาเลเซีย เป็นประเทศที่มีประชากรประมาณ 29.5  ล้านคน โดยมีประชากรส่วนใหญ่ประมาณ 50%  เป็นชาวมาเลย์ ซึ่งตามข้อมูลระบุว่า 99.9% ของชาวมาเลย์นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์ โดยประเทศยังมีประชากรชาวจีน กับอินเดียอยู่ที่ประมาณ 23.7%  และ 7.1%  ตามลำดับ   อย่างไรก็ตาม การประกวดมิสมาเลเซียเวิลด์ 2013 ที่ผ่านมา  อันทำให้องค์กรศาสนาออกมาร้องเรียนห้ามให้สาวงามทั้ง4 ที่นับถือศาสนาอิสลาม เข้าประกวดในรอบตัดสิน จึงทำให้ทางกองประกวดตัดสินใจตัดสิทธิสาวงามทั้ง4 ออกจากการประกวด   เพราะเนื่องจาก เป็นข้อที่ผิดกฏตามบัญญัติทางศาสนาเอาไว้ในกฎหมายอิสลามมาตราที่ 34 ที่บังคับใช้มาตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อนแล้ว ที่ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน “ว่าการเข้าร่วมประกวดบนเวทีความงามของสตรีชาวมุสลิมมาเลเซีย จะถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และเป็นบาป  ที่มีขึ้นหลังจาก ราฮีมา  ออเชียต ยายาห์ เป็นสาวมุสลิมคนสุดท้ายที่ครองมงกุฎมิสมาเลเซียเวิลด์ในปี 1994 หลังจากก่อนหน้านั้นในปี 1992เออร์รา ฟาซีรา ก็เป็นสาวมุสลิมอีกคนที่ได้ครองมงกุฎมิสของเวทีประกวดใหญ่สถาบันนี้    ต่อมา อันเป็นเหตุที่ทำให้สาวมุสลิมไม่เหมาะต่อการขึ้นโชว์ร่างบนเวที   และความบันเทิงนี้จะเป็นที่ต่อต้านขององค์กรที่ไม่สนับสนุนหญิงสาวมุสลิมในการแสดงตัวความสวยบนท้องเวที


สาวงามมุสลิมทั้ง 4 ที่ถูกตัดสิทธิออกจากการประกวดรอบตัดสิน

อย่างไรก็ตาม  สาวงามทั้ง 4 คน ที่ทางกองประกวดเพิ่งประกาศว่าพวกเธอคือหนึ่งในผู้เข้ารอบสุดท้าย ที่จะได้ชิงมงกุฎ มิสมาเลเซียเวิลด์ 2013 แต่ท้ายที่สุด คงต้องออกจากการประกวดไป   ซึ่งประกอบไปด้วย แคทรินา บินติ ริซวน, มีรา ชีกห์, วาฟา โจฮันนา เดอ คอร์เต และ ซารา อเมเลีย เบอร์นาร์ด   ทั้งนี้ เมื่อมีการตัดสิทธิทั้ง 4 ออกจากการประกวดรอบตัดสินแล้ว แต่ก็ไม่ทำให้การประกวดที่มีผู้เข้าประกวดที่ไม่ใช่สาวมุสลิมยังดำเนินการต่อไป  




และสำหรับการประกวด มิสเวิลด์ 2013 ที่จัดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ที่ผ่านมา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกัน ทางกองประกวดจึงได้ประกาศว่าในปีนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพวัฒนธรรมของเจ้าภาพ จึงจะไม่มีการประกวดในรอบชุดว่ายน้ำทูพีซ แต่ให้สาวงามผู้เข้าประกวดสวมชุดว่ายน้ำวันพีซ และสวมโสร่งทับเอาไว้อีกชั้นแทน    แต่อย่างไรก็ตาม การประกวดมิสเวิลด์ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมเป็นส่วนใหญ่และเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ จึงทำให้องค์กรมุสลิมออกมาต่อต้านอย่างสิ้นเชิง



Website :  





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น