วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รัฐบาลไม่ให้ชาวคริสต์ในมาเลเซียเดินทางไปแสวงบุญ ณ กรุงเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล


เขียนโดย : สุไลมัน  มะดีเยาะ





รัฐบาลมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก ประกาศยกเลิกข้อห้ามและข้อจำกัดอื่นๆ ที่บังคับไม่ให้ชาวคริสต์ในมาเลเซียเดินทางไปแสวงบุญ ณ กรุงเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล อันเป็นศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทั้งศาสนาคริสต์และอิสลาม  โดยรัฐได้กำหนดวันเวลาในการเดินทาง และระยะเวลาในการอาศัยการทำบุญ ซึ่งกำหนดให้ชาวคริสต์สามารถไปแสวงบุญ ณ กรุงเยรูซาเล็มได้ปีละไม่เกิน 700 คน โดยต้องเป็นตัวแทนจากโบสถ์ต่างๆ โบสถ์ละไม่เกิน 40 คน และเดินทางได้สูงสุด 10 วัน อีกทั้ง ผู้ที่เดินทางในปีนี้ จะต้องเว้นระยะอีก 3 ปี จึงจะสามารถเดินทางไปแสวงบุญได้อีกครั้ง  แต่การประกาศดั่งกล่าวก็ยังไม่เป็นทางจากรัฐบาล โดยสมาพันธ์คริสเตียนแห่งมาเลเซีย (Christian Federation of Malaysia) ได้กล่าวว่า พวกเขาได้รับจดหมายจากสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ที่ชี้แจงว่าข้อห้ามดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้ และอนุญาตให้ชาวคริสต์เดินทางไปเยรูซาเล็มได้สูงสุด 21 วัน  

อนึ่ง การยกเลิกข้อห้ามดังกล่าวเป็นผลมาจากการประท้วงและการปะทะระหว่างชนกลุ่มน้อยชาวคริสต์ ที่ส่วนใหญ่มาจากชนพื้นเมืองในซาบาห์และซาราวัก กับรัฐบาลมาเลเซีย หลายต่อหลายครั้ง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา



Website :







วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วัดถ้ำบาตู ศูนย์รวมของผู้ที่นับถือฮินดูในมาเลเซีย


เขียนโดย : ซูฮาดา เจะโซะ





บรรยากาศของวัดถ้ำบาตู

     คำว่า บาตูตามภาษามลายูมีความหมายว่า หิน ซึ่งสอดคล้องกับชื่อวัดที่ตั้งไว้ คือ วัดถ้ำบาตู เป็นการผสมผสานกันระหว่างภาษาไทยกับภาษามลายู
    
     ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เข้ามาในมาเลเซียนานพอๆกับการเข้ามาของศาสนาพุทธในมาเลเซียประมาน 100 กว่าปีที่แล้ว

    วัดถ้ำบาตู อยู่ทางตอนเหนือของกรุงวลาลัมเปอร์ไปประมาณ 14 กม. มีถ้ำที่ใหญ่โตจำนวนหลายถ้ำเชื่อมต่อกันยาวถึง 400 เมตร บางแห่งผนังถ้ำสูงถึง 100 เมตร ชาวฮินดูจากที่ต่างๆเดินทางมาสักการะกันเป็นจำนวนมาก รวมๆกับนักท่องเที่ยวแล้วนับหมื่นๆต่อวัน  




ศาสนสถานของพวกพราหมณ์หรือฮินดูในไทยอาจจะไม่ค่อยได้เห็นนัก เมื่อก่อนบริเวณโบสถ์พราหมณ์มีเฉพาะชาวพราหมณ์เท่านั้นที่เข้าไปบูชา แต่ปัจจุบันแม้กระทั่งชาวพุทธ ชาวจีน จนกระทั่งนักท่องเที่ยวที่เข้ามาก็ยังเข้าไปบูชาด้วย จนในเวลาต่อมากลายเป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมชาวฮินดูที่ใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย ในวันสำคัญทางศาสนาจะจัดงานใหญ่โตหลายวัน มีพิธีกรรมแปลกๆที่ท้าทายความเชื่อ ไม่แพ้งานกินเจที่ภูเก็ต
       
     

     

    Website ;







มาเลเซียจับเจ้าของรีสอร์ต ให้ชาวพุทธใช้ห้องละหมาด

เขียนโดย : สุไลมัน มะดีเยาะ


    ทางการมาเลเซียจับกุมเจ้าของรีสอร์ต หลังจากที่อนุญาตให้ชาวพุทธใช้ห้องละหมาดเพื่อทำการสวดมนต์

ผู้บังคับบัญชากรมตำรวจท้องถิ่นมาเลเซีย โนร์ ราซิด และสื่อต่างๆกล่าวว่า ชายมุสลิมชาวสิงคโปร์ เจ้าของรีสอร์ตในรัฐยะโฮร์ วัย 45 ปี ซึ่งเป็นพลเมืองถาวรของมาเลเซียแล้ว ถูกจับกุมกำลังถูกสอบสวนฐาน "ทำให้สถานที่ศักดิ์สิทธ์มัวหมองด้วยเจตนาดูหมิ่นศาสนา" จากการอนุญาตให้ชาวพุทธจากสิงคโปร์เข้าไปใช้งานห้องละหมาดสำหรับการสวดมนต์ เนื่องจากไม่มีห้องอื่นว่าง จึงให้ใช้ละหมาดก่อนเป็นชั่วคราว และคลิปวิดีโอของการสวดมนต์ที่นำโดยพระสงฆ์ดังกล่าว ถูกโพสต์ลงในเว็บไซต์ยูทูบเมื่อวันเสาร์ ส่งผลให้เกิดกระแสความโกรธเกรี้ยวจากชุมชนมุสลิมซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยโนร์ได้กล่าวอีกว่า ตำรวจได้รับคำสั่งจากศาลให้ควบคุมตัวเจ้าของรีสอร์ตไว้เป็นเวลา 4  วันสำหรับการสืบสวน ซึ่งข้อหาดังกล่าวมีโทษจำคุก 2 ปี แต่เขาปฏิเสธที่จะบอกรายละเอียดเพิ่มเติม

ด้านผู้นำชุมชนพุทธในมาเลเซีย เค. ศรี ธรรมรัตนะ ออกมากล่าวขอโทษต่อ " พี่น้องชาวมุสลิม " สำหรับการกระทำของกลุ่มชาวสิงคโปร์ พร้อมเสริมว่า " ผมขอแนะนำให้ชาวพุทธในมาเลเซียและสิงคโปร์เคารพความอ่อนไหวทางศาสนาของผู้อื่น ไปพร้อมๆ กับการปฏิบัติข้อกำหนดและความรับผิดชอบในศาสนาของเราเอง "

ในระยะนี้ ข้อขัดแย้งทางศาสนาหลายต่อหลายครั้งกลายเป็นข่าวใหญ่ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งประกอบไปด้วยชุมชนของคนหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา รวมถึงชาวจีนและอินเดีย โดยผู้นับถือศาสนาอิสลามมีจำนวนราว 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากร 28 ล้านคน




Website :







วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติพระพุทธศาสนาในมาเลเซีย


เขียนโดย : นางสาวซูฮาดา เจะโซะ



ตัวอย่าง : ภาพบรรยากาศของศาสนาพุทธในมาเลซีย



ในอดีตมาเลเซียได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ-ฮินดูมานานแล้ว แต่เมื่อศาสนาอิสลามเข้ามาแพร่กระจายในมาเลเซียแล้ว ทำให้ศาสนาพุทธมีความสำคัญน้อยลง

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาในมาเลเซีย เริ่มเข้ามาโดยศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และต่อมามีอิทธิพลจากอาณาจักรศรีวิชัยเพิ่มมาอีก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเป็นศาสนาพุทธแบบมหายานจนทำให้ศาสนาพุทธมีการแพร่ขายในมาเลเซียเพิ่มมากขึ้น ความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในมาเลเซียเริ่มขึ้นได้ไม่นานนัก พระเจ้าปรเมศ แห่งอาณาจักรมะละกาได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งปาไซที่เป็นมุสลิม ทำให้พระองค์มีการเปลี่ยนแปลงการนับถือศาสนาของตนเป็นศาสนาอิสลาม ในขณะที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่

ต่อมาในรัชกาลของสุลต่านมัลโซร์ชาห์ในมาเลเซีย ซึ่งทรงมีความเลื่อมใสในศาสนาอิสลามเป็นอย่างมาก ทำให้ราษฎรเข้ารีตศาสนาอิสลามตามพระองค์ ทำให้พระพุทธศาสนาในมาเลเซียมีความสำคัญลดลงตั้งแต่ช่วงนั้นเป็นต้นมา
แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีประชากรส่วนหนึ่งในมาเลเซียที่ยังคงนับถือศาสนาพุทธอยู่มากพอสมควร


Website :


วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความปลอดภัยในการเดินทางสำหรับหญิงในมาเลยเซีย


เขียนโดย : นิตยา บารอสิดิก


ภาพตัวอย่าง การบริการแท็กซี่สำหรับผู้หญิงในมาเลเซีย


       มาเลเซีย ถือว่าเป็นเมืองใหญ่แห่งหนึ่งที่มีประชากรมุสลิมมากเป็นอันดับ3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถ้าพูดถึงสัดส่วนประชากรหญิงในโลกจะมีมากถึง 60/40 ในสัดส่วนของประชากรชาย โดยประมาณ และในมาเลเซียก็เช่นเดียวกันที่มีประชากรหญิงมาก ไม่ว่าจะศาสนาไหนหรือสัญชาติใดก็ตาม มาเลเซียก็จะเล็งเห็นความปลอดภัยของผู้หญิงมากไม่น้อยเช่นกัน  อย่างไรก็ตาม ในการเดินทางของผู้หญิงก็มักจะมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ทางกระทรวงการพัฒนาสตรีครอบครัวและชุมชนของมาเลเซีย ได้มีการตั้งโครงการแท็กซี่สีชมพูสำหรับผู้หญิง นอกจากนี้ ไม่ใช่แต่ผู้โดยสารเท่านั้นที่เป็นผู้หญิง คนขับเองหรือโชเฟอร์ก็เป็นผู้หญิงเช่นเดียวกัน โดยในขณะนี้มีแท็กซี่สีชมพูเพื่อสุภาพสตรีให้บริการในกรุงกัวลาลัมเปอร์แล้ว 50 คัน และคาดว่าจะเพิ่มจำนวนเป็น 400 คันได้ในไม่ช้านี้  และแล้วเมื่อก่อนหน้านี้ยังมีรถไฟและรถบัสบริการสำหรับให้แก่ผู้หญิงมาแล้ว และตอนนี้ก็ยังได้เพิ่มแท็กซี่สำหรับผู้ให้บริการขึ้นอีกด้วย


    อย่างไรก็ตาม ด้านนางเฮ็ง เซี่ยะ ไค รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสตรี ครอบครัว การพัฒนาชุมชน ระบุว่า แท็กซี่ประเภทนี้จะทำให้การเดินทางสำหรับผู้หญิงมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น และสร้างอาชีพแก่ผู้หญิงที่อยากเป็นคนขับแท็กซี่ด้วย หรือผู้หญิงที่ว่างงานจากการเกษียณ หรือหางานเสริมทำ หรือหญิงที่เลี้ยงลูกตามลำพังที่จะหางานขับแท็กซี่เพื่อเลี้ยง ทั้งนี้ ไม่ว่าแต่จะเป็นแค่งานเสริม แต่มาเลเซียก็ได้ยังเปิดโอกาสให้บริการแท็กซี่สำหรับสตรีโดยเฉพาะ เพื่อปกป้องผู้หญิงจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศขณะใช้บริการรถสาธารณะ



Website :









“Movies is islam”


เขียนโดย : ไฮฟา เยาะแต


   ปัจจุบันประเทศอิสลามอย่างมาเลเซีย พยายามที่จะสร้างหนังสะท้อนความเป็นอิสลามและสร้างอุดมการณ์ความเป็นมลายู ว่าด้วยเรื่องของปัจจุบันนี้หนังที่เป็นตัวดึงดูดความสนใจของผู้ที่สนใจการศึกษาเรื่องศาสนา นั่นก็คือหนังเรื่อง แนวความรักที่ถูกหลักการอิสลามดังนั้นวงการภาพยนตร์พยายามสร้างและกำกับหนังในแนวนี้มากขึ้น แม้กระทั่งคนไทยในสามจังหวัดโดยเฉพาะวัยรุ่นจะหันไปสนใจดูหนังแนวนี้มาก โดยเฉพาะผู้ที่เรียนศาสนาและมีความรู้ หนังเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากเพราะถือว่าเป็นหนทางหนึ่งในการเผยแพร่ศาสนาอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงดารานักแสดงมาเลซึ่งบางคนเป็นดาราและนับถือศาสนาอิสลามแต่ไม่ได้ใส่ผ้าคลุมและไม่ได้เคร่งในเรื่องของศาสนาจนบางคนมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถุกต้อง แต่มันกลับกลายเป็นว่าพลิกผันไปเลย เมื่อพวกเขาได้เข้ากองถ่าย และแสดงหนังที่เป็นแนวเคร่งศาสนาได้ปกปิดทุกส่วนของร่างกายพยายามสื่อให้เห็นว่าสิ่งต้องห้ามของอิสลามคืออะไร และหนังแนวนี้จะมีมากในมาเซีย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้อย่างอินโดก็เห้นได้ชัดจะเป็นในแนวเดียวกัน
     
    หนังที่ได้รับเสียงสะท้อนในปัจจุบัน อย่างเช่น warkah cinta ที่แปลเป็นภาษาไทยแปลว่า จดหมายรัก เป็นเรื่องราวความรักแต่ไม่ได้สะท้อนเฉพาะความรักอย่างเดียวจะออกแนวสะท้อนสังคมที่ผู้ชายคนหนึ่งไปเรียนในต่างประเทศ อย่างประเทศอียิปต์ ซึ่งจะเห็นว่าในโลกมุสลิมสิ่งสำคัญที่สุดคือการศึกษาเล่าเรียนในเรื่องของศาสนา และผู้ที่มีศาสนาแน่วแน่ จะเรียกได้ว่า ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ดังนั้นแม้ตัวละครจะมีเรื่องรักแต่เขาก็สามารถควบคุมตัวเองก็ในเมื่อเขา เป็นคนที่มีศาสนาเขาจะทำในสิ่งที่ถูกต้อง 


             ภาพยนตร์เรื่อง “warkah cinta”

    ภาพยนตร์เรื่อง ”syurga cinta” สวรรค์แห่งความรัก

   นอกจากนี้แล้วการสร้างหนังเชิงแนวความรักแบบถูกหลักการอิสลามแล้ว ยังมีหนังที่สะท้อนปัญหาชีวิตการสำนึกผิด การเตาบัต ซึ่งหมายถึงการสำนึกผิดต่อหน้าอัลลอฮ์ (ซบ)  ซึ่งแอบแฝงไปด้วยแง่คิดต่าง ๆ

ภาพยนตร์เรื่อง “taubat nasuha”
       อิทธิพลของหนังแนวนี้ปัจจุบันถือว่า มีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนที่สอดคล้องกับศาสนาเพราะคนดูสามารถคิดได้และคล้อยตามไปกับหนัง ยังสร้างโอกาสคนหันมาสนใจและท้ายที่สุดกลับกลายเป็นบทเรียนเรียนรู้เรื่องศาสนาของตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้หนังปัจจุบันยังมีความขัดแย้งต่างๆ ปัญหาก็คือความคิดที่ต่างกันการผิดสีลธรรมต่างๆอย่างบางหนังต้องถูกแบน เรื่องที่เรารู้จักและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาตินั้นน้อยมากเที่พูดถึงศาสนาโดยตรง
       
      ท้ายที่สุดแล้วหนังในเชิงนี้ อาจจะเพิ่มจำนวนประชากรให้นับถือสาสนาอิสลามมากขึ้น เพราะคนต่างศาสนา จะดูหนังเรื่องนี้แล้วเกิดความคิดให่ขึ้น และมุมมองที่กลับกัน



Website :















“ธนาคารอิสลามในมาเลเซีย “


เขียนโดย : ไฮฟา เยาะแต



ธนาคารอิสลามในมาเลเซีย


      สถาบันการเงินที่สำคัญของมาเลเซียคือ ธนาคารอิสลาม (Islamic Banks) ซึ่งเริ่มดำเนินการในมาเลเซียเมื่อเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา โดยอยู่ภายใต้กฎหมาย Islamic Banking Act ระบบธนาคารอิสลามในมาเลเซียถือว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับระบบธนาคารอิสลามในประเทศอื่น ความริเริ่มและความพยายามก่อตั้งธนาคารอิสลามในมาเลเซียเกิดขึ้นจากฝ่ายเอกชนเช่นเดียวกับประเทศมุสลิมอื่น ๆ
     
     ตอนนี้มาเลเซียตั้งเป้าหมายที่จะขยายธนาคารอิสลาม ไป 50 สาขาทั่วประเทศ ภายในปี 2015 ที่จะถึงนี้ ซึ่งนาย Zukri samat  เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามมาเลเซียจำกัดกล่าวว่า ธนาคารมีแผนจะขายสาขาทั่วประเทศ เป็น 150 สาขา จากที่ตอนนี้มีอยู่แล้ว 130 สาขา ซึ่งจะดำเนินการเปิด 5 สาขาใหม่ ภายในสิ้นปี 2012 โดยการเปิดตัวแต่ละสาขาใหม่จะมีค่าใช้จ่าย หนึ่งล้านริงกิตมาเลเซียและมั่นใจว่าจะได้ผลตอบแทนในการลงทุนภายในเวลาแปดเดือน นับจากวันที่เข้ามาดำเนินงาน นาย Zukri ได้กล่าวอีกว่าจะกระจายเงินทุนไปยังมัสยิดและบริจาคเพื่อใช้ในกิจการศาสนา  และกองทุนนี้เริ่มต้นที่รัฐกลันตัน เริ่มต้นไปแล้ว 200 กองทุน  ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการสร้างหรือการปลุกความเป็นศาสนา บางครั้งขึ้นอยู่กับผู้นำหรือรัฐบาลที่จะสร้างโอกาสให้กับการปฎิบัติทางศาสนา กิจการต่างๆขึ้นอยู่กับการลงทุนดังนั้นระบบการเงินถือว่าคือสิ่งสำคัญ และการเงินอิสลามยังต้องหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอาเซียน  การจัดการระบบการเงินในอิสลามจำเป็นที่จะต้องเน้นหลักการกฎของอิสลาม และในเรื่อง และในเรื่องของดอกเบี้ยอิสลามจะไม่นำมาเกี่ยวเพราะถือว่าการกินดอกเบี้ยถือว่าบาป

     เรื่องในเรื่องของการให้สินบน และการรับสินบน อิสลามมีคำสอนสำหรับสินบน เช่น คนที่เขาละเมิดอธรรมผู้อื่น หรือโกงผู้อื่นแต่พอถึงเวลาที่จะบังคับใช้กฎหมายในการเอาผิด เขาได้ให้เงินผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีเพื่อให้พ้นผิด หรือเขาต้องการจะทำงานอะไรสักอย่าง แต่ไม่มีคุณสมบัติในงานนั้น หรือเขาต้องการตำแหน่ง หากเขาไม่ใช้เงินซื้อตำแหน่งนั้นเขาจะไม่สามารถไปสู่ตำแหน่งนั้นได้ สำหรับเรื่องนี้มีคำดำรัสของอัลลอฮ์ ความว่า  "และพวกเจ้าจงอย่ากินทรัพย์1 สมบัติของพวกเจ้า2 ระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ และจงอย่าจ่ายมัน3 ให้แก่ผู้พิพากษาเพื่อที่พวกเจ้าจะได้กินส่วนหนึ่งจากทรัพย์สินสมบัติของผู้อื่น ด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นบาป4 ทั้งๆ ที่พวกเจ้ารู้กันอยู่"
      

Zukri samat  เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามมาเลเซียจำกัด
                 
            Dato’ zukri samat เป็นส่วนหนึ่งในการปรับโครงสร้างธนาคารอิสลาม เพื่อให้ธนาคารสามารถแข่งขันกับคนอื่นๆ การอุตสาหกรรมการบริการที่แข็งแกร่ง และการบริการชุมชน ธนาคารจะมีการเคลื่อนไหวไปข้างหน้าเข้าสู่ประสิทธิภาพที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน การส่งมอบ บริการด้านการธนาคาร และการเงินไปยัง มาเลเซีย ทั้งหมด  และการบำเพ็ญประโยชน์แก่มัสยิดซึ่งเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิม ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีฉะนั้นแล้ว คงไม่แปลกที่ความรุ่งเรืองจะเกิดกับธนาคารอิสลามเพราะการให้นั้นคือสิ่งสำคัญ และจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า





Website :