วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผู้เผยแพร่ศาสนาอิสลามในมาเลยเซีย



เขียนโดย : ไฮฟา เยาะแต


อุซตะอัซฮาร์อิดรุส 


     Uztaz azhar idrus นักเผยแพร่ศาสนาอิสระ ( Pendakwa h bebas)  เขาคือผู้โด่งดังในมาเลเซีย รวมถึงเป็นที่รู้จัก ของคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านศาสนา   อุซตะอัซฮาร์อิดรุส เป็นชาวมาเลย์เซีย ที่อาศัยอยู่ในรัฐตรังกานู ซึ่งเขาคือหัวใจหลักของวัยรุ่นชาวมาเลยเซีย  เพราะเขาพยายามที่จะสร้างความเข้าใจให้กับวัยรุ่นโดยการไปบรรยายในที่ต่างๆ และให้คนที่ฟังการบรรยายตั้งคำถามเกี่ยวกับหลักการปฎิบัติของศาสนาอิสลาม สิ่งที่เรียกว่า ฮารอม   ก่อนที่เขาจะมาเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เคร่งครัดในเรื่องของศาสนา เขาเคยเป็นศิลปินกราฟฟิกเขาจะเก่งในด้านถ่ายรูป หลังจากนั้นเขาได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งไม่ได้เจอกันมาเป็นเวลา 5 ปี เพื่อนเขาแนะนำเกี่ยวกับศาสนา จากนั้นเขาได้ทิ้งอาชีพนี้ และได้หันไปสนใจในเรื่องของศาสนาให้มากขึ้นโดยการตามหาโตะครู และเรียนรู้ในเรื่องศาสนาอย่างลึกซึ้งถึงแม้จะมีอุปสรรค์  ฝนจะตกพายุกระหน่ำเขาก็ไม่ย่อท้อ ในขณะนั้นเขาก็ได้ทำธุรกิจผ้าบาติกอีกด้วย  เขามีภรรยาสองคนและลูกอีก 7 คน ภรรยาของเขาและลูกสาวจะปิดหน้า ซึ่งการปิดหน้าถือว่าเป็นสิ่งปกปิดสิ่งที่ต้องห้ามของผู้หญิง เพื่อไม่ให้เกิดการฟิตนะ  เขาคือคนหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนผันชีวิตตัวเอง จากหน้ามือเป็นหลังมือ



ครอบครัว อุซตะ อัซฮาร์ อิดรุส



     นอกจากนี้แล้วเขามีความสามารถในการใช้คำในการดึงดูดคนฟัง ให้เกิดความคิดความเข้าใจในเรื่องศาสนามากขึ้น และบรรยายได้เก่ง สร้างความสนุกให้กับคนฟัง  เขาเป็นคนที่มีอารมณ์ขบขัน  คนส่วนใหญ่มักชอบสไตล์และวิธีการพูดของเขา  ซึ่งจะเห็นได้ว่าในโลกออนไลน์ อย่างเช่น Facebook จะมีคนติดตามและกดไลก์ เพจ  และกดแชร์ Uztaz azha idrus เป็นจำนวนมาก เพราะการเผยแพร่ศาสนาหรือการดะวะห์คือวิธีหนึ่งที่สามารถสร้างความเข้าใจให้คนต่างศาสนิก และรวมถึงคนที่นับถือศาสนาอิสลามเอง






Facebook ของ Uztaz azha idrus 




Website :

   

Sajian Informasi Terkini
Ustaz Azhar Idrus – Sejarah Ustaz Azhar Belajar Agama Tarikh Artikel : Selasa, Mac 20, 2012Berita harian online 

อีหม่ามหนุ่มหรือผู้นำหนุ่ม (Imam muda)


เขียนโดย : นิตยา บารอสิดิก  






ปัจจุบันในมาเลเซียคึกคักกับการแสวงหาผู้นำมุสลิมชาย และพยายามที่จะชักชวนความสนใจจากหนุ่มๆ เพื่อที่จะนำความรู้จากการศึกษามาเป็นประโยชน์ และได้จัดตั้งรายการทีวี ออสโตร โอเอซิส      (Astro Oasis) ขึ้นมาเพื่อ ผู้ชายที่จะเป็นอีหม่ามได้จะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เป็นผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 19-27 ปี ไม่ว่าจะแต่งงานแล้วหรือยังไม่แต่งงานอีกก็ตาม ผู้ที่จะเป็นผู้นำได้จะต้องผ่านการคัดเลือกและจะต้องมีประสบการณ์มาก่อน และต้องเป็นคนที่มีความรู้ทางศาสนาอิสลามเป็นอย่างยิ่งถือได้ว่าเป็นคนที่เคร่งศาสนาไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายใน เขาต้องปรากฎให้ผู้อื่นได้รับรู้หรือเรียกว่าการเผยแพร่ที่หัวใจของเขาอธิฐานสัญญาต่อพระเจ้า เป็นผู้ที่มีจิตใจบริสุทธิ

ในขณะที่ประเทศตะวันตกได้มีรายการแสดงความสามารถตามที่ต้องการเพื่อคัดเลือกดาว แต่ในมาเลเซียก็ได้มีรายการแสดงเช่นเดียวกันเพื่อเลือก “ดาวอีหม่าม” จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจของคนประเทศอื่นๆ การแข่งขันของประเทศอื่นๆ มักจะแสดงทักษะความสามารถในร้องเพลงหรือเต้นรำ ในทางกลับกันการแสดงอีหม่ามหนุ่มจะแสดงทักษะความสามารถด้วยการอ่านคัมภีร์อัลกรุอาน  การอบรมวิธีฝังศพและปฏิญาณตนว่าจะป้องกันคนหนุ่มสาวชาวมาเลเซียจากเพศสัมพันธ์ (นอกสมรส)

อีหม่ามหนุ่มหรือผู้นำหนุ่มจัดขึ้นโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ซีรี จามิน คีร   บาฮารูม (Datuk Seri Jamil Khir Baharom)  เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2010 แห่งประเทศมาเลเซีย และโครงการนี้ได้ก่อตั้งขึ้นมาแล้ว 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2010 เป้าหมายที่มีการจัดโครงการนี้ขึ้นมาก็เพื่อที่จะให้ชายหนุ่มวัยรุ่นหันมามองศาสนาของตน ปฏิบัติตามศาสนาอย่างถูกต้อง ไม่เว้นแต่เฉพาะหนุ่มวัยรุ่นแต่จะรวมไปถึงเยาวชน  ผู้ที่จะเป็นผู้นำหรืออีหม่ามหนุ่มจะต้องเข้าใจในเรื่องศาสนาอิสลามและต้องมีความสามารถและเคร่งครัดที่จะเป็นผู้นำ           ในช่วงที่คัดเลือกสิบคนสุดท้ายจะมีการเข้าร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่เป็นโรค เผยแพร่ศาสนา อ่านคุตบะห์หรือกล่าวคำบรรยายที่เกี่ยวกับศาสนาที่มัสยิดต่างๆ อาบน้ำพิธีศพจนกระทั่งฝังศพ แม้แต่ผู้ตายเป็นเอดส์ก็ตาม ซึ่งเนื่องจากผู้ที่ตายเป็นเอดส์ผู้คนมักจะไม่เต็มใจที่จะสัมผัสศพ และชักชวนเยาวชนให้ห่างจากเพศและยาเสพติด และให้คำปรึกษากับผู้ที่จะแต่งงานตามพิธีทางศาสนา และอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม การเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันจะใช้เวลาเพียงแค่สามเดือน เมื่อโครงการนี้เนื่องจากเป็นที่นิยมของชาวมุสลิมซึ่งจะแพร่ทั่วเอเชีย โดยออกรายการผ่านทางช่องทีวี ออสโตร โอเอซิส ซึ่งเป็นรายการช่องทางศาสนา กำหนดการของการแข่งขันที่จะเป็นผู้ชนะของอีหม่ามหนุ่มคือ ต้องท่องจำอัลกรุอาน และต้องรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติของอิสลาม และกล่าวอธิบายทัศนะซุนนีย์ซึ่งหมายถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของท่านศาสดานบีมุฮัมมัด อย่างลึกซึ้งและเข้าใจ อีกทั้งผู้ที่เข้ารอบในการแข่งขัน 10 คนสุดท้ายจากที่ 1,000 คน พวกเขาต้องเผชิญกับการใช้เวลาฝึกฝนการเขียนและอ่านคำสอนของศาสนาและปฏิบัติในศาสนา และพวกเขาจะถูกแยกออกอย่างโดดเดี่ยว โดยอยู่ในห้องหนึ่งของมัสยิด  จากนั้นก็ประชันกันในการอ่านพระคัมภีร์อัลกุรอาน   และห้ามจากการใช้โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และโทรทัศน์        เพื่อต้องการให้พวกเขาได้ใช้ความคิดของตนเองโดยไม่พึ่งพาความช่วยเหลือหรือการชี้นำจากภายนอก        เมื่อการคัดเลือกผู้ที่เข้ารอบสองคนสุดท้ายจะได้ทดสอบในคัมภีร์กุรอานท่องนำเสนอพระธรรมเทศนา        กล่าวสวดทา​​งศาสนาอย่างไพเราะเป็นทำนอง และตอบคำถามจากผู้พิพากษาคนเดียวของโปรแกรมอดีต       อีหม่ามผู้อวุโสของมัสยิดแห่งชาติของมาเลเซีย ตามการที่กำหนดผู้ใดผู้หนึ่งที่สามารถตอบคำถามอย่างถูกต้องแม่นยำ และชัดเจนตามพระมหาคัมภีร์ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะเลิศ

 อีหม่ามหนุ่มที่ถูกคัดเลือกให้เป็นผู้นำกลายเป็นคนสำคัญซึ่งดึงดูดความสนใจจากคนในเอเซียและประเทศอื่นๆ เช่น ในสหรัฐฯ และอังกฤษ โดยเฉพาะกลุ่มชาวมุสลิม อีกทั้งเป็นโครงการที่ถูกทำให้เกิดความน่าตื่นเต้นของผู้ชมและผู้ประกวดจากความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายของผู้นำในการทำให้อิสลามน่าสนใจมากขึ้น และเป็นที่ทำให้คนหนุ่มสาวให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตามประเทศมาเลเซีย ซึ่งป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ เช่นที่ สลังงอ    ยะโฮร์ ปีนัง เป็นต้น ในแถบนี้เป็นชาวมุสลิม ซึ่งจะมีเยาวชนมากพอสมควรและมีความเข้มแข็งเคร่งครัดทางศาสนาพอสมควร และการที่ได้ยกย่องให้มีผู้นำหนุ่มขึ้นมาก็เพื่อชักจูงคนรุ่นหลังๆ ให้มีความกระตือรือร้นมากขึ้น  เพื่อที่จะยึดหลักทางศาสนาและสอนรุ่นลูกๆ หลานๆ อีกอย่างเพื่อให้เป็นการเผยแพร่ศาสนาไปในทั่วโลก  การจัดตั้งโครงการนี้ได้เป็นที่ยกย่องของชาวมุสลิมในสหรัฐฯ และในอังกฤษ และที่อื่นๆ  
 มาเลเซียได้แสดงความคึกคักในความเป็นจริงกับการวางแผนโครงการในมุมมองของอิสลามที่เกิดขึ้น ซึ่งได้เล็งเห็นว่า "อีหม่ามหนุ่ม" จะต้องนำแสดงการผสมผสานของความเชื่ออย่างเป็นธรรมชาติเพื่อที่จะให้เข้าใจอย่างมากขึ้น   มาเลเซียเป็นประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้พยายามที่จะปกป้องประเพณีอิสลามในขณะที่โลกเกิดกระแสโลกาภิวัติและวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามา  ถึงแม้ว่าโลกจะมีการปรับเปลี่ยนและมีกระแสทางสื่อมวลชนเข้ามา แต่ในแนวมุมมองของมาเลเซียมีวิธีที่จะมีการชักจูงในแนวทางอิสลามโดยตั้งโครงการนี้ขึ้นมาด้วยความบันเทิงในแนวของอิสลาม การดำเนินของผู้จัดตั้งโครงการในประเทศมาเลเซียได้กล่าวว่าพวกเขาต้องการที่จะหาผู้นำชาวมุสลิมที่เคร่งศาสนา กับความก้าวหน้าที่สามารถพิสูจน์ศาสนาให้กับเยาวชนมาเลเซียแม้จะมีอิทธิพลของวัฒนธรรมก็ตาม

 ในศตวรรษที่ 21 ประเทศมาเลเซียได้ก่อตั้งโครงการมากมายเพื่อที่จะถ่ายทอดผ่านช่องทีวีอิสลามเพื่อเผยแพร่ศาสนาและดึงดูดความสนใจชักจูงความสามารถของเยาวชนมุสลิม ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม โครงการนี้เน้นการท่องสวดมนต์และเน้นการทดสอบเกี่ยวกับศาสนาอิสลามและถามคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันเช่นการตั้งชื่อผู้นำของโลก และตรวจสอบพื้นหลังที่กำลังทำเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครมีอดีตผู้นำที่น่ารังเกียจหรือไม่น่าเชื่อถือ

อีหม่ามหนุ่มจะต้องมีทักษะในการพูดไม่ว่ากับมุสลิมหรือต่างศาสนิกก็ตาม เขาจะต้องมีการให้เกียรติและไม่แบ่งชนชั้น เขาจะต้องมีความเข้มแข็งและยึดหลักอิสลามเข้ามาพูดในทางอ้อมเพื่อเป็นการเผยแพร่ทางจิตใจ ที่เน้นๆก็คือการตั้งเจตนา ต้องใส่ใจกับความรู้ในเชิงลึกในความเชื่อของศาสนาอิสลามและความสามารถในการเป็นผู้นำ  และเป้าหมายในอิสลามคือไม่ได้เป็นเพียงชัยชนะส่วนบุคคลของการแข่งขัน แต่เป็นชัยชนะของสังคมและเป็นชัยชนะของศาสนาอิสลามเองมันได้นำเยาวชนได้ใกล้ชิดกับศาสนา และอีกอย่างคือต้องการให้เป็น "หนุ่มสโมสรอิหม่าม" ตามที่กล่าวมานี้ ปัจจุบัน ประชาชาติอิสลาม จำเป็นมากกว่าในยุคใดๆที่ผ่านมา จะต้องทำให้เกิดความพร้อมของการเป็นผู้เรียกร้อง แผ่ขยายด้วยสิ่งที่พวกเขามีความต้องการ ได้แก่สื่อต่างๆ ความสามารถของการปฏิบัติหน้าที่ของพวกเขา ภายใน ชุมชน สังคมอิสลาม ภายนอกเป็นการเฉพาะ หลังจากที่นำเสนอการเรียกร้องแก่เหล่าผู้หลงผิด และหลอกลวง ทำให้กลายเป็นสื่อต่างๆ  และความสามารถ ที่ไม่มีผู้อื่นตระเตรียมมาก่อน


ในปี ค.2010 อีหม่ามหนุ่ม สรัฟ มูฮัมหมัด ริสซูวัน (IM Asyraf Mohamad Ridzuan) เป็นรุ่นแรกที่ได้รับการชนะเลิศ คะแนนใกล้เคียงกับผู้ที่เป็นรองชนะเลิศมาก สรัฟ มูฮัมหมัด ริสซูวัน ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ทางศาสนาไม่น้อยเลยทีเดียว การสนับสนุนทางครอบครัวและภรรยาเป็นการสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่เป็นอับดับสอง นอกจากการขอพรวิงวอนต่อพระเจ้าแล้ว สิ่งนี้นับได้ว่าเป็นจุดยืนที่ทำให้เขามุ่งมั่นกับการเป็นผู้อย่างเต็มตัว และเป็นที่นับถือของประชาชนชาวปีนัง เนื่องจากเขาเป็นอีหม่ามหนุ่มที่ถูกคัดเลือกเป็นผู้ชนะของรุ่นแรก เขาได้ให้คำแนะนำแก่คนหนุ่มสาวคือการต่อต้านความเย้ายวนทางโลก และได้ชักชวนรุ่นต่อๆไปให้มีความกระตือรือร้น ในการเผยแพร่ศาสนา

ในปี ค.2011 อีหม่ามหนุ่ม มูฮัมหมัด ฮัสซัน อัดลี ยาฮายา (IM Mohd Hassan Adli Yahaya) เป็นรุ่นที่สองที่ได้รับการชนะเลิศ ซึ่ง มูฮัมหมัด ฮัสซัน อัดลี ยาฮายา กับ นัซรูล อิซวัน ซุลกิฟลี  (IM Nazrul Izwan- Zolkiflee) ทั้งสองมีคะแนนที่ไม่แตกต่างกันมาก แต่ด้วยความประสิทธิภาพที่สอดคล้องและบุคลิกภาพที่ถูกใจผู้ตัดสิน และมีกฏอยู่ในคุณสมบัติ เขาจึงกลายเป็นหนุ่มผู้ชนะ มูฮัมหมัด ฮัสซัน อัดลี ยาฮายา  จึงได้ถูกเลือกให้เป็น อีหม่าม ของรางวัลทุกอย่างจะได้สิทธิที่เท่าเทียมกัน เว้นแต่เงินรางวัล  ในส่วนของผลงาน นัซรูล อิซวัน ซุลกิฟลี กับ มูฮัมหมัด ฮัสซัน อัดลี ยาฮายา ค่อนข้างดังมากซึ่งได้มีละครที่เกี่ยวกับความรักที่  นัซรูล อิซวัน ซุลกิฟลี ได้แสดงรับบทเป็นพระเอกของเรื่อง ละครเรื่องนี้มีชื่อว่า “Warkah Cinta” นอกจากนี้นัซรูล อิซวัน ซุลกิฟลี ได้ร่วมอัลบั้มของวง Unic และอีกมากมาย หลังจากที่ทั้งสองได้รับการตัดสินแล้ว ทั้งสองยังได้ร่วมกันทำงานอย่างเคร่งครัด ทั้งสองมีความคิดที่แตกต่างกัน ในแต่ละคนมีความแข็งแรงของตัวเองและความสามารถพิเศษที่จะให้ความรู้กับประชาชนได้หันมาปฏิบัติตามหลักที่ถูกต้อง  ทั้งสองได้รับการยกย่องของประชาชนและได้ความเคารพนับถือ

ในปี ค.2012 อีหม่ามหนุ่ม ญับบาร (Imam Muda Jabbar) ได้ขึ้นครองแชมป์เป็นรุ่นที่สาม เนื่องจากเขาเป็นคนที่มีความสามารถสูงสุดในการคัดเลือกในครั้งนี้ เขาได้กระตือรือร้นมากกับการแข่งขันในครั้งนี้ เนื่องจากทางครอบครัวและภรรยาของเขาไม่สนับสนุนแต่ด้วยจิตใจของเขาที่อธิฐานภาวนาต่อพระเจ้าและได้มอบหมายการงานต่อพระเจ้า จึงทำให้ความสำเร็จของเขายืนได้จนเกิดความประสบความสำเร็จและทำให้ทุกคนในครอบครัวและประชาชนยอมรับในตัวเขา และมันเป็นเรื่องที่ทำให้เขาไม่คาดคิด แม้ว่าชัยชนะครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นเวที  และแม้ว่าจะผ่านความท้าทายหลายครั้งก่อนและระหว่างการเข้าพักเข้าร่วมกิจกรรมของพวกเขาในโปรแกรมที่กำหนดไว้ เขาก็ได้มุ่งมั่นในการท่องจำพระธรรมเทศนา และกล่าวอย่างถูกต้อง

มาเลเซียซึ่งมีประชากรมุสลิมประมาณ 60% จาก 28 ล้านคน กำลังถูกอิทธิพลของพวกเคร่งศาสนาครอบงำมากขึ้น มีการบุกตรวจค้นตามโรงแรมและไนต์คลับ จับคนทำผิดฐานดื่มเหล้าหรือมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากหญิงสาวมาเลเซียถูกเฆี่ยนฐานมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในมาเลเซีย รายการออสโตร โอเอซิส ในโครงการอีหม่ามหนุ่ม จึงเป็นที่พยายามจะดึงศาสนาให้กลับมาเปิดกว้างและเป็นสายกลางมากขึ้น  การก้าวสู่ความสำเร็จของแต่ละบุคคลจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่จะขึ้นอยู่กับความสามารถที่แต่ละบุคคลได้ปฏิบัติ การที่จะให้เยาวชนคนรุ่นหลังๆ มีความสามารถเขาต้องได้รับการอบรม และฝึกได้อย่างคล่องแคล่วรวมทั้งให้ความสำคัญเป็นพิเศษ   ในการจัดตั้งโครงการนี้เพื่อที่จะค้นหาผู้ที่มีความสามารถ และทำหน้าที่เป็นแบบอย่างแก่สังคมเพื่อที่จะจัดการกับปัญหาสังคมและศีลธรรม และเพื่อรวบรวมคนหนุ่มมาร่วมกิจกรรมทั้งทางศิลปะและสร้างแรงจูงใจ โดยหวังจะลบภาพลักษณ์เดิมๆ



IM สรัฟ มูฮัมหมัด ริสซูวัน 


IM มูฮัมหมัด ฮัสซัน อัดลี ยาฮายา 


Website :

http://fenomenasyid.blogspot.com/2010/05/senarai-peserta-imam-muda-2010.html
http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2010/07/2010731503766963.html
http://www.demotix.com/news/399009/finals-imam-muda-challenge#media-398952
http://lanunsepet.blogspot.com/2010/07/juara-imam-muda-astro-muhammad-asyraf.html
http://ezany-kun.com/mohd-hassan-adli-yahaya-yahuza-di-tabal-juara-imam-muda-2/
http://www.budiey.com/imam-muda-jabbar-pemenang-juara-imam-muda-musim-ke-3/

อาหารฮาลาลในมาเลเซียกับการเพิ่มจำนวนประชากรมุสลิมในโลก




เขียนโดย : สุพรรษา ถวายเทียน







    ในปัจจุบัน  โลกใบนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ประเทศแทบทุกประเทศในโลกได้เพียรพยายามที่จะพัฒนาประเทศชาติของตนเองให้ก้าวทันกับยุคสมัยที่กำลังเปลี่ยนไปในทุกๆด้าน  ไม่ว่าจะในด้านสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  หรือวัฒนธรรม  ทั้งหมดล้วนถูกพัฒนาไปตามศักยภาพของประเทศนั้นๆ  และแน่นอน  หากจะมองการพัฒนาของประเทศหนึ่งๆนั้นว่ามีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน  การขยายตัวในด้านเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆย่อมบ่งบอกถึงความล้าหลังหรือความทันสมัยของประเทศได้เป็นอย่างดี  ซึ่งสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วนั้น  มีทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังดำเนินการพัฒนาอยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ประเทศมาเลเซียที่ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง  มีการเจริญเติบโตขึ้นทุกปี  ซึ่งจะเห็นได้จากการขยายตัวโดยรวมของสินค้าภายในประเทศ  และนอกจากนั้นแล้ว  มาเลเซียยังเป็นหนึ่งในประเทศที่องค์การสหประชาชาติได้จัดให้เป็นประเทศนิคส์ (NICS)  หรือประเทศที่พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมใหม่  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  ประเทศมาเลเซียนั้นมีศักยภาพสูงมากในเชิงเศรษฐกิจ  อีกทั้งยังเป็นประเทศที่อยู่ในแนวหน้าของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้อีกด้วย

ประเทศมาเลเซียนั้น  เป็นประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย  ซึ่งอุตสาหกรรมฮาลาลก็เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่กำลังมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว  โดยที่อุตสาหกรรมฮาลาลของมาเลเซียนั้นไม่ใช่มีเพียงด้านอาหารอิสลามเท่านั้น  แต่ยังรวมไปถึงสินค้าประเภทอื่นๆอีกมากมาย  เช่น  ยา  เครื่องสำอาง  ของใช้ประเภทสบู่  ยาสีฟัน  เครื่องหนัง  และนอกจากนั้นแล้ว  ยังเกี่ยวข้องกับการบริการ  เช่น  การจัดเลี้ยง  โรงแรม  การฝึกอบรม  ธนาคาร  สื่อมวลชน  โลจิสติกส์  และการท่องเที่ยวอีกด้วย  ทั้งนี้  สาเหตุหนึ่งที่อุตสาหกรรมฮาลาลในมาเลเซียได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางก็เนื่องมาจากว่าศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาที่มีการขยายตัวเร็วที่สุดในโลก  จากการวิจัยของ  Pew  Research  Centre  ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยที่ศึกษาศาสนาและผลกระทบจากศาสนาต่อสังคมได้รายงานว่าในปัจจุบันมีประชากรมุสลิมทั่วโลกประมาณ  1600  ล้านคน  คิดเป็น  23 %  ของจำนวนประชากรทั่วโลกและในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอาจจะเพิ่มจำนวนเป็น  35  %  ของจำนวนประชากรทั่วโลกกันเลยทีเดียว  ซึ่งจากจำนวนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของศาสนาอิสลามในศตวรรษที่  21  ดังนั้นผู้ที่จะปฏิบัติตามบัญญัติและข้อห้ามในศาสนาอิสลามจึงเพิ่มมากขึ้นด้วย  และในฐานะที่มาเลเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากถึง  60  %  จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ  ทำให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศที่มีการผลิตอุตสาหกรรมฮาลาลมากที่สุดในระดับต้นๆของประเทศทั่วโลก โดยที่มาเลเซียได้วางเป้าหมายให้อุตสาหกรรมฮาลาลของตนเป็นศูนย์กลางของโลก  โดยมีการจัดตั้ง  Halal  Industry  Development  Corporatoin  หรือ  HDC  ตั้งแต่ปี  2006  ให้เป็นหน่วยงานกลางในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล  ซึ่งกลุ่มสินค้าฮาลาลที่ถือครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดของตลาดสินค้าฮาลาลโลกก็คือ  อุตสาหกรรมอาหารฮาลาลนั่นเอง  ดังนั้น  อาหารฮาลาลจึงกลายเป็นความต้องการของประชากรทั้งในมาเลเซียเอง  และได้กลายเป็นแนวโน้มใหม่ของตลาดอาหารโลก

            ในโลกปัจจุบันมักเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยระบบตลาด   มีการผลิตแบบอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐาน   ซึ่งเช่นเดียวกัน  การผลิตอาหารนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นการผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาด  การผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนนั้นมีปริมาณน้อยมาก  ดังนั้น  ตลาดอาหารโลกจึงมีบทบาทอย่างสูงต่อโภชนาการและการสนองอาหารต่อประชากรในโลก  ซึ่งจากสถานการณ์ในปัจจุบันจะสังเกตเห็นได้ว่าอาหารที่มีตราฮาลาลรับรองนั้นจะเป็นกลุ่มอาหารที่เป็นความต้องการของตลาดโลกสูงมาก  อีกทั้งอัตราการขยายตัวของอาหารฮาลาลก็ยิ่งพุงสูงขึ้นทุกวัน  ทั้งนี้ก็เพราะว่าความต้องการในอาหารฮาลาลนั้นมิได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่ประชากรที่เป็นมุสลิมเท่านั้น  แต่ผู้ที่มิได้นับถือศาสนาอิสลามก็เริ่มหันมาเลือกบริโภคอาหารที่มีตราฮาลาลรับรองกันมากขึ้นด้วยเช่นกัน  ที่เป็นเช่นนี้  ก็เนื่องมาจากว่า  ในปัจจุบันผู้คนทั่วไปจะให้ความสำคัญกับอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีตราฮาลาลเป็นอย่างมาก  เพราะเชื่อว่าเจตนารมณ์ของอาหารฮาลาลที่ให้ชาวมุสลิมได้บริโภคนั้นเป็นอาหารที่บริสุทธิ์  สะอาด  ดีต่อสุขภาพ  และไม่มีพิษอันตรา  อีกทั้งกระบวนการผลิตก็ย่อมต้องผ่านตามขั้นตอนตามหลักการของอิสลาม  และอาหารที่จะสามารถรับรองตราฮาลาลได้นั้นย่อมต้องเป็นอาหารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน  ส่วนอาหารประเภทซากสัตว์  เลือด  หรือเนื้อหมูนั้น  จากการพิสูจน์ทางการแพทย์ก็พบว่าเป็นสิ่งที่อันตรายต่อร่างกายมนุษย์ทั้งสิ้น  ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็เป็นที่ต้องห้ามของศาสนาอิสลามอยู่แล้ว  ดังนั้น  จากความพิถีพิถันในเรื่องของการบริโภคตามหลักการศาสนาอิสลามนี้นี่เองที่ทำให้คนที่มิใช่มุสลิมเริ่มหันมานิยมบริโภคอาหารฮาลาลกันมากขึ้น

ซึ่งนอกจากนั้นแล้ว  จากอัตราการขยายตัวของประชากรมุสลิมที่ยิ่งเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก  ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทข้างต้นนั้น   ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราความต้องการในอาหารฮาลาลเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน  ดังในตารางด้านล่างนี้





จากตารางข้างต้น  เป็นเพียงตัวอย่างของความต้องการในอาหารฮาลาลของประชากรมุสลิมในประเทศบางประเทศเท่านั้น  ซึ่งหากเฉลี่ยปริมาณการขยายตัวของอาหารฮาลาลในช่วงที่ผ่านมาทั่วโลกแล้วนั้นก็จะมีมูลค่าประมาณ  5  แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี  ซึ่งมันจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไปพร้อมกับการขยายตัวของจำนวนประชากรมุสลิมที่เพิ่มขึ้นทุกปี  และด้วยจำนวนดังกล่าวนั้นสะท้อนให้เห็นว่าเมื่อความต้องการในอาหารฮาลาลเพิ่มมากขึ้น  ตลาดที่มีการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลย่อมมากขึ้นด้วยเช่นกัน  ดังนั้น  ไม่เพียงแค่ตลาดอาหารในมาเลเซียเท่านั้นที่มีการเร่งการผลิตอาหารฮาลาล  แต่ยังมีตลาดรายใหญ่อื่นๆอีกทั่วโลกที่ทำการขยายอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในโลกปัจจุบัน

อาหารฮาลาลหรือสินค้าต่างๆที่มีเครื่องหมายฮาลาลรับรองนั้น  คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่ามันเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์หนึ่งที่จะบ่งบอกให้รู้ว่าอาหารหรือสิ่งของชิ้นนั้นเป็นที่อนุญาตสำหรับมุสลิม  แต่กลับไม่เข้าใจในเหตุผลว่าทำไมถึงต้องมีคำว่าฮาลาล  แต่เมื่อยุคสมัยมันเปลี่ยนไป  หลักวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น  ดังนั้นจึงมีการเริ่มหาเหตุผลว่าทำไมอาหารบางชนิดถึงฮาลาล  และทำไมอาหารบางชนิดที่คนทั่วไปสามารถรับประทานได้กลับเป็นที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิม  โดยการนำอาหารเหล่านั้นมาทำการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งปรากฏว่าอาหารทุกอย่างที่มีตราฮาลาลรับรองนั้นสะอาด  มีประโยขน์  และไม่เป็นโทษต่อร่างกาย  ซึ่งถือเป็นแนวคิดของอาหารฮาลาลที่ต้องการส่งเสริมในด้านสุขอนามัย  การสุขาภิบาลและความปลอดภัย  ไม่ใช่เป็นเพียงแค่บทบัญญัติทางศาสนาเท่านั้น  ในขณะที่อาหารที่มุสลิมถูกห้ามทานนั้นกลับมีโทษต่อร่างกายมนุษย์ไม่มากก็น้อย  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว  จึงไม่แปลกเลยที่ปัจจุบันอาหารฮาลาลได้กลายเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก  ทั้งคนที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม

ซึ่งแน่นอนว่า  เมื่อแนวโน้มความต้องการในอาหารฮาลาลยิ่งพุ่งสูงขึ้น  ตลาดที่ผลิตอาหารฮาลาลรายใหญ่อย่างมาเลเซียก็ย่อมต้องเร่งการผลิตเช่นกัน  และการที่มาเลเซียได้กลายเป็นศูนย์กลางฮาลาลโลกนั้น  ย่อมแสดงให้เห็นถึงความมีศักยภาพในด้านการผลิตทั้งอาหาร  สินค้า  หรือการบริการอื่นๆที่ฮาลาลได้เป็นอย่างดี  แต่อย่างไรก็ตาม  เมื่อความต้องการในอาหารฮาลาลยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่าไร  การแข่งขันในการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลของประเทศต่างๆก็ย่อมสูงขึ้นเช่นกัน  ซึ่งสำหรับมาเลเซียแล้วนั้น  อุตสาหกรรมฮาลาลคงจะมีแต่การขยายตัวกว้างขึ้นอยู่เสมอ  เพราะนอกจากมาเลเซียจะเป็นประเทศมุสลิมแล้ว  ศักยภาพในการผลิตและคุณภาพของผลผลิตก็เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลกเช่นกัน



บรรณานุกรม:

โครงการตะวันออกกลางศึกษา. (2549). อาหารฮาลาล: แนวโน้มใหม่ตลาดอาหารโลก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(กรุงเทพ).
ชัยโชค จุลศิริวงศ์. (2538).  นโยบายต่างประเทศของมาเลเซีย. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: นโยบายต่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ.
นิติ นวรัตน์. (2555,  24  ตุลาคม). “มีมุสลิมกี่คนบนโลกใบนี้.” เปิดฟ้าส่องโลก. ไทยรัฐ. 2.
วิทย์ บัณฑิตกุล (เรียบเรียง). (2555) มาเลเซีย. หนังสือชุดประชาคมอาเซียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพ: วีพริ้น จำกัด).
อุมาร  มาตะมัน. (2551). อาหารฮาลาลคืออะไร.  วิทยุสราญรมย์. 38-39 (มกราคม-มิถุนายน).
John Gullick. (1981). Malaysia: Economic Expansion and National Unity. London: By Ernest Benn Limited.
SIRIM Berhad. (2004). For Halal Food. Standardisation, 11 (July - August). 6.